วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่1



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 14  เดือน มกราคม  พ.ศ. 2558





ความรู้ที่ได้รับ

          
         เฉลยข้อสอบปลายภาคของเทอมที่แล้ว 

           
         ทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนจากวิชา การอบรมเลี้ยงดูสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่ออาจารย์จะได้เช็คว่านักศึกษามีความรูเกี่ยวกับเด้กพิเศษมากน้อยเพียงใด

           
ความหมายของเด็กพิเศษ 

        ทางการแพทย์ หมายถึง เด็กพิการ เด็กที่มีความผิดปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง เด็กที่สูญเสียสมรรถภาพ   ส่วนทางกายศึกษาก็หมายถึง เด็กที่ต้องการศึกษาเฉพาะของตัวเองซึ่งจำเป็นต้องการจัดการศึกษาให้ต่างจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล (1 แผน/เด็ก 1 คน ถึงแม้ว่าจะอาการเดียวกันก็ตาม)

สรุป

         เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรควรได้รับการช่วยเหลือและการสอนปกติ 

         จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ บำบัด ดูแลและฟื้นฟู (เด็กพิเศษอาจทำได้เหมือนเด็กปกติแต่ช้า)

         จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล (All Children Con Learn)

พฤติกรรมและพัฒนาการ

          มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน

         เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านพัฒนาการ จะไม่เป็นไปตามขั้น

         พัฒนาการล่าช้า อาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายๆด้าน หรือทุกด้าน

         การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ

         ด้านชีวภาพที่ดี ได้แก่ พันธุกรรม ร่างกาย โครโมโซม

         ด้านสภาพแวดล้อม  ได้แก่ กินเหล้า บุหรี่ ไม่พูดคุยกับลูกขณะตั้งครรภ์

         ด้านกระบวนการคลอด  ได้แก่ ฝีมือหมอระหว่างการคลอด

         ด้านสภาพแวดล้อมหลังการคลอด  ได้แก่ การดูแลเรื่องอาหาร การใส่ใจ

ประเภทของเด็กพิเศษ 

       1 กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child) เป็นเด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา มีความถนัดเฉาะทางสูงกว่าเด็กวัยเดียวกัน

       2 กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  

              2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา  เด็กที่มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน ได้แก่ เด็กเรียนช้า ปัญญาอ่อน ดาวน์ซินโดรม 
    
แนวทางการส่งเสริมเด็กดาวน์ซินโดรม  

            การส่งเสริมพัฒนาการ  ต้องส่งเสริมให้ครบทั้ง4ด้าน ครูต้องให้คำแนะนำกับผู้ปกครองให้เป็น ในเรื่องของความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ วิธีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

             การดำรงชีวิตประจำวัน ฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด เพื่อสามารถช่วยเหลือตนเองและ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

             การฟื้นฟูสมรรถภาพ  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล 1แผน/1คน (Individualized Education Program : IEP)  สำหรับเด็กปกติก สอน1แผนก็จบ  แต่สำหรับเด็กพิเศษ IEP เป็นแผนระยะยาว เด็ก1คน/1แผน เด็ก3คนอยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็3แผน ใช้ไปเลยทั้งเทอมหรือบางแผนใช้ถึงปี ต้องวางแผนทั้งเทอมหรือทั้งปี

              2.2  เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุให้ได้รับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน ได้แก่ หูตึง หูหนวก

              2.3 เด็กที่บกพร่องทางการเห็น ได้แก่ เด็ก ตาบอด ตาบอดไม่สนิท

              2.4 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ Delayed Language  Dyphasia/Aphasia

              2.5 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  ได้แก่ ลมชัก ซีพี โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ

              2.6 เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  L.D. (Learning Disability)  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะด้าน เฉพาะอย่าง เป็นโรคที่ค่อนข้างประหลาด ด้านร่างการยจะปกติทุกอย่าง ไม่มีปัญหาแม้แต่น้อย แต่ขาดความสามารถในการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4ด้าน 

                         1) ด้านการอ่าน                    2) ด้านการเขียน   ภาพรวม เด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง 2เท่า แต่ด้านการคำนวณกลับกัน เพราะเด็กผู้ชายชอบการคำนวณ

                          3) ด้านการคำนวณ              4) หลายๆด้านรวมกัน    

               2.7  ออทิสติก (Autistic)  หรือ ออทิซึ่ม (Autism)    เป็นตลอดชีวิตไม่หาย แต่ดีขึ้นได้  ชอบอยู่คนเดียว ไม่แคร์ ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่พูด ไม่แสดงท่าทาง มีความมั่นใจในตัวเองมาก มือไวมาก ตบ หยิก ทุบ กระชากผม เด็กแต่ละคนจะมีบุคลิกเป็นของตนเอง 1คน 1อาการ  2คน ก้อ2อาการ 
   คำนิยาม  "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"

 แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

              ส่งเสริมความสามารถเด็ก  ไม่มุ่งเน้นแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว แต่มุ่งส่งสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆ เพราะเด็กออทิสติกจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ การส่งเสริมต้องเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย ห้ามทำกิจกรรมเดิมๆต้องเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อลดพฤติกรรมซ้ำๆ
    
            การส่งเสริมพัฒนาการ  ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ  เพราะเด็กออทิศติกทำได้ทุกอย่างเหมือนเด็กปกติ แต่จะดื้อ ไม่ยอมฟัง โลกส่วนตวสูง ถ้าสิ่งไหนไม่ชอบก็จะไม่ทำ
            การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สิ่งที่ครูสามารถทำได้คือ การสื่อความหมายทดแทน แต่สามารถใช้ได้ในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น

            การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา โดยการใชแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เกิดผลในระยะยาว โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนานโดยเด็กพิเศษกลุ่มหนึ่งเด็กปกติกลุ่มหนึ่งเรียนร่วมกัน จำนวนอัตราส่วนเด็กพิเศษกับครู3/5 เพื่อให้เด็กปกติช่วยเด็กพิเศษด้วย เรียนโดยการจับกลุ่มระบบบัดดี้

            การรักษาด้วยยา เด็กจะไม่หายเป็นตลอดชีวิต ยาจึงรักษาไม่ได้สามารถบรรเทาอาการได้ เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น

            การบำบัดทางเลือก โดยใช้การสื่อความหมายทดแทน ศิลปกรรมบำบัด ดนตรีบำบัด การฝังเข็ม(ไม่น่าเป็นไปได้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล)  การบำบัดด้วยสัตว์ เป็นการบำบัดโดยการใช้สัตว์ เช่น แมว กระต่าย ม้า 

        
             2.8  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์     มีความรู้สึกนึกคิดไปจากเดิมคิดไม่เหมือนชาวบ้าน ชอบทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น อันตรายมากจะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนองไม่ได้ ซึ่งต่างจากเด็กออทิศติก     เด็กสมาธิสัน ADHD มี 3ลักษณะ

           1) Inattentiveness  สมาธิไม่ดี ขาดสมาธิ ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก

           2) Hyperactivity  ซนอยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

           3) Impulsiveness หุนหันพันแล่น ไม่อดทนต่อการรอคอย รอไม่เป็นไม่อยู่ในกติกา

       สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการอบรมเลี้ยงดู แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก ต่อให้เลี้ยงดูดีแค่ไหน ถ้าเด็กมีสมาธิสั้นเด็กก็เป็น ไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่

 แนวการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม

              การใช้ยา (เป็นหน้าที่ของแพทย์และผู้ปกครอง)    ยาที่ใช้คือ Ritalin ออกฤทธิ์4ช่วโมง มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้พร้อมที่จรับข้อมูลพร้อมที่จรียนรู้  ไม่อันตราย ไม่ดื้อยา ไม่มีผลค้างเคียง เด็กสมควรกิน เด็กต้องกินยาเม็ดเป็น เพราะเป็นยาเม็ดเท่านั้น 

             การปรับพฤติกรรม (การฝึกฝนการควบคุมตนเอง) เป็นหน้าที่ของครู

                  -  สิ่งแรกที่ครูต้องสอนคือการจัดกิจวัตรปะจำวันของด็ก เพราะเด็กสมาธิสั้นทำอะไรโดยไม่มีการวางแผนเลย จะทำอะไรก็ทำเลย ครูต้องสอนเพื่อให้เขารู้ว่าในหนึ่งวันเขาต้องทำอะไรบ้างเพื่อนเหมือนในเพื่อนในห้องเขาทำกัน เพื่อลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น สอนทุกๆวันก็ยิ่งดี

                   -  ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที เรียงลำดับความยากง่ายให้เป็นขั้นตอน เช่น การระบาย 
       
                   - ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี ให้ชมเด็กเลยเมื่อเด็กสามารถทำเหมือนเด็กปกติทำ เช่น เด็กสามารถกินข้าวกลางวันพร้อมเพื่อนได้ คำชมทำให้เด็กกำลังใจเป็นแรกเสริมทางบวกสำหรับเด็ก ครูไม่ใช่แค่ต้องทำแค่วันเดียวแต่ต้องทำเป็นเดือน อย่าท้อ ต้องใจเย็นๆ เด็กพิเศษต้องการความสม่ำเสมอจากครู

                 - ลงโทษเด็กให้ถูกวิธี  เช่น ลงโทษด้วยการห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่ขาชอบ แต่ครูต้องใจแข็งห้ามใจอ่อนเด็ดขาด  ครูต้องจำไว้เลยว่าการตีด็กให้เป็วิธีการสุดท้ายจริงๆเมื่อไม่มีทางลือกอื่นแล้ว 


              การปรับสภาพแวดล้อม (เป็นหน้าที่ของครู)

                  - สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กต้องไม่วุ่นวาย เงียบ เวลาทำงาน ควรจัดมุมที่สงบ ห้องต้องไม่กว้าง ไม่มีคนเดินผ่าน เพราะจะดึงดูดความสนใจจากเด็ก

                - จัดเก็บของเล่นให้เข้าที่และเป็นระเบียบ ให้้นจากสายตาเด็ก เพราะจะล่อตาล่อใจเด็ก เด็กอยากเล่น

             การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น

                 - ต้องดูก่อนว่าเขาพร้อมที่จะให้ข้าไปหาหรือยัง เช่น เรีกชื่อเด็กก่อนมื่อเขาพร้อม ก็ชวนด็กมาต้องมีภาษาท่าทางร่วมด้วยเสมอ  และครูต้องใช้คำพูดที่กระชับได้ใจความชัดเจน เช่น เมื่อเด็กกำลังระบายสีแล้วลุกขึ้นจะไปเล่น ครูต้องเรียกชื่อ ".......นั่งก่อน ระบายกับครูค่อยไป"

                 - ทุกครั้งที่เข้าไปหาเด็กต้องใช้การกระทำร่วมด้วย นอกจากการสัมผัสแล้ว ครูต้องทำกิจกรรมร่วมกับเด็กด้วย ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ ต้องบอกทีละงาน ให้เด็กทำเสร็จทีละอย่าง ถ้าบอกเด็กหลายๆงานพร้อมกัน งานก็จะไม่เสร็จสักอย่าง

             กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น

                 1 Physical Exertion ภาวะไม่อยู่นิ่ง    การให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานออกมา แต่จะให้เด็กทำอะไรต้องมีจุดมุ่งหมายเสมอว่าให้เด็กทำเพื่ออะไร แล้วเด็กจะได้อะไร

                 2 Self Control ควบคุมตนเอง  การควบคุมสมดุลตัวเอง เช่น เดินบนกระดานแล้วหยอดลูกบอลลงตะกร้า

                 3 Relaxation Training ผ่อนคลาย  เช่น  กิจกรรมการแกว่งชิงช้าเป็นจังหวะ เด็กได้สัมผัสแกว่งไปข้างหน้าข้างหลัง เป็นการฝึกสมาธิของเด็ก 



การนำความรู้ไปใช้

           นำความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการส่งเสริมของเด็กพิเศษในแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาเต็มศักยภาพ จนสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้





ประเมินตนเอง 

     
           เนื่องจากปิดเทอมหลายวัน ทำให้มีการลืมเกี่ยวกับเนื้อหาเล็กน้อย และคาบนี้เป็นคาบแรกที่ได้เข้าเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมในการเรียนที่ดี เนื่องจากคาบแรกนราธิวาสน้ำท่วมหนักไม่สามารถมาเรียนได้ 



ประเมินเพื่อน

           เนื่องจากนี้เทอมที่แล้วเราได้เรียนด้วยกันแล้ว เทอมนี้ได้มาเรียนด้วยกันอีก ทำให้เกิดความสนิทและเป็นกันเองมากขึ้น ทุกพยายามตั้งใจสิ่งที่อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบเมื่อปลายเทอมที่แล้วและพยายามตอบคำถามและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี



ประเมินอาจารย์

           อาจารย์สอนสนุกเข้าใจ ไม่เบื่อ ไม่เครียด คาบนี้อาจารย์ได้มีการเฉลยข้อสอบ ทำให้นักศึกษาได้รู้ว่าตนเองตอบผิดหรือผิดพลาดตรงไหน ทำให้นักศึกษาได้ทบทวนและเข้าใจมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น