วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่3



บันทึกอนุทิน ครั้งที่3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่28  เดือน มกราคม  พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับ

              คาบนี้อาจารย์นำภาพดอกไม้มา ซึ่งแต่ละห้องอาจารย์จะเลือกภาพดอกไม้ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละห้อง เช่น ดอกบัว ดอกชบา ซึ่งในกลุ่มเรียนนี้ได้ "ดอกกุหลาบ" 
โดยอาจารย์ให้เขียนบรรยายว่าเห็นอะไรจากภาพนี้ 



                                                       ภาพดอกกุหลาบที่อาจารย์นำมา



                                                                   ภาพที่หนูวาด


              สิ่งที่เห็นจากภาพ :  กลีบดอกใหญ่กำลังบาน สีชมพูผสมขาว มีเป็นหยักบนกลีบดอก บางกลีบอ่อนบางกลีบเข้ม 

              สิ่งที่สะท้อนจากการทำกิจกรรม : การวาดภาพเหมือนของดอกกุหลาบก็เปรียบเสมือนการบันทึกพฤติกรรมของเด็ก ครูต้องบันทึกพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาจริงๆ บันทึกทุกอย่างที่เด็กทำ เขียนทุกอย่างที่เด็กพูด ครูไม่ควรมโนหรือใส่ความรู้สึกของตัวเองในการบันทึก ต้องบันทึกจากพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาเท่านั้น





เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้ "บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม"

              ครูไม่ควรวินิจฉัย :  ครูดูอาการของเด็กออก เพราะอยู่กับเด็กตลอด ยิ่งครูมีความรู้ทำให้มองเด็กว่าเป็นอะไร แต่ครูห้ามวินิจฉัยว่าเด็กเป็นอะไรเด็กขาด เพราะหน้าที่วินิจฉัยเป็นหน้าที่ของแพทธ์เท่านั้น และที่สำคัญเมื่อครูรู้ว่าเด็กเป็นอะไรต้องเก็บไว้คนเดียว ห้ามบอกให้คนอื่นรู้เด็ดขาดโดยเฉพาะผู้ปกครอง จะทำให้เป็นการตีตราให้กับเด็ก

              ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ : ครูไม่ควรเล่าเรื่องไม่ดีให้พ่อแม่เด็กพิเศษฟังเด็ดขาด เพราะเขาทราบอยู่แล้วว่าลูกเขาเป็นอะไร เขาเลยไม่ชอบให้ครูตอกย้ำ แต่สิ่งที่เขาต้องการคือคำชมจากครู ครูต้องตบหัวแล้วลูบหลัง ดัดจริตเยอะๆ ต้องรู้จักการใช้คำใช้ภาษาพูดแฝงในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ไปด้วย เพื่อให้พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กพัฒนายิ่งขึ้น

              ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก : ครูไม่ควรทำเด็ดขาด ห้ามตั้งฉายาให้เด็กปกติหรือเด็กพิเศษก็ตาม ไม่ว่าจะตั้งฉายาในด้านดีน่ารักก็ตาม เด็กจะไม่ชอบ เพราะเขามีชื่อ เช่นกรณีของเด็กดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กน่ารัก ตาตี๋ ผิวขาว ครูจึงเรียกอาหมวยหรืออาตี๋ คนอื่นฟังอาจจะน่ารัก แต่เด็กที่ถูกเรียกจะไม่ชอบ เพราะเด็กคนอื่นครูเรียกชื่อ เขามีชื่อแต่ครูไม่เรียก เด็กจะเกิดความน้อยใจ เกิดความคิดว่าไม่เท่าเทียมกัน

             สิ่งที่ครูควรทำคือ ต้องจำชื่อจริง นามสกุล และชื่อเล่นของเด็กทุกคนในห้อง ครูทำได้จากการเช็คชื่อ

             สิ่งที่ครูควรทำ : ครูสามารถชี้ให้เห็ถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย สังเกตเด็กอย่างมีระบบและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

             สังเกตเด็กอย่างมีระบบ (เป็นวิธีที่ดีที่สุด) : ครูต้องสังเกตและบันทึกอย่างเป็นระบบ ต้องเขียนตามความเป็นจริงที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาและเขียนทุกอย่างที่เด็กพูด คนที่บันทึกพฤติกรรมของเด็กได้ดีที่สุดคือครู เพราะครูอยู่กับเด็กตลอดเวลาใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด แพทธ์หรือบุคคลอื่นจะมาขอข้อมูลเด็กกับครู ฉะนั้นครูต้องเขียนตามความจริงและต้องทำให้มีคุณภาพ
             การตรวจสอบ : จะทำให้รู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรและเป็นแนวทางที่สำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

             ข้อควรระวังในการปฏิบัติ (เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด) : ครูต้องไวต่อความรู้สึกสามารถตัดสินใจได้ล่วงหน้า ต้องเรียงลำดับความสำคัญให้เป็น สิ่งไหนที่สำคัญต้องแก้ก่อน เช่น พฤติกรรมการเล่นคนเดียวของเด็กสำคัญที่สุดที่ครูควรแก้เป็นลำดับแรก เพราะการเล่นคนเดียวเป็นการขัดขวางกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม  ถ้าครูไม่แน่ใจในพฤติกรรมบางอย่าง ก็ให้เปรียบเทียบกับผู้ใหญ่หรือเด็กคนอื่นๆในห้องทำ แสดงว่าพฤติกรรมนั้นไม่น่าเป็นห่วง

             การบันทึกการสังเกต : ไปใช้กับเด็กที่เข้าข่ายเป็นเด็กพิเศษ ครูอย่าใช้ความรู้สึกของตัวเองลงไป ต้องบันทึกตามจริงที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา บอกเป็นข้อๆ จุดๆอย่างละเอียด

                 1) การนับอย่างง่ายๆ : การนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม เช่น ตลอดทั้งวัน เด็กขว้างสิ่งของจำนวนกี่ครั้งหรือเช็คระยะเวลาในการกระทำเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ เด็กปกติส่วนมากทำไม่เกิน 2-3นาที เพราะเหนื่อย

                2) การบันทึกต่อเนื่อง (ดีที่สุด) : บันทึกทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำได้ทุกช่วงทั้ง 6กิจกรรม สังเกตเวลาสอน ส่วนมากจะให้ครูพี่เลี้ยงในห้องทำบันทึกตั้งแต่ต้นจนจบกิจกรรม จะละเอียดมาก เพราะเวลาที่เราสอน เราไม่สามารถจดบันทึกทุกอย่างได้และถ้าเราบันทึกเองหลังจากทำกิจกรรมเสร็จเราอาจจะจำไม่ได้

               3) การบันทึกไม่ต่อเนื่อง : บันทึกพฤติกรรมเป็นชอตๆ แค่กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเท่านั้น สั้นๆไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆเพื่อเป็นการย้ำให้ครูเขียนแค่นี้พอ สามารถให้ครูพี่เลี้ยงจดได้

           การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป : ครูควรเอาใจใส่ระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง ถ้าเด็กในห้องหรือผู้ใหญ่เป็นไม่ต้องไปซีเรียส

           การตัดสินใจ : ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ ก่อนที่ครูจะพูดอะไรให้ผู้ปกครองต้องมั่นใจก่อนถึงจะพูดได้




การนำความรู้ไปใช้

           เพื่อได้เป็นครูประจำชั้น ถ้ามีเด็กพิเศษในห้อง สิ่งแรกที่ไม่ควรทำคือการวินิจฉัยอาการของเด็ก เพราะจะเป็นการตีตราให้กับเด็ก ต้องจำชื่อจริง นามสกุลและชื่อเล่นของเด็กทุกคนในห้อง ห้ามตั้งฉายาให้กับเด็กถึงแม้ฉายาที่เรียกจะน่ารักก็ตามแต่เด็กไม่ชอบ เด็กแต่ละคนมีชื่อ จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน 

           ต้องสังเกตอย่างมีระบบ เขียนตามความจริงบันทึกทุกอย่างทุกเด็กแสดงพฤติกรรมออกมา และเขียนทุกอย่างที่เด็กพูด ห้ามมโนหรือเขียนตามความรู้สึกของตัวเอง ต้องเขียนตามความจริงที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาเท่านั้น




ประเมินตนเอง

            ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย และพยายามจดเนื้อหาที่สำคัญ แต่ขาดการเตรียมตัวมาล่วงหน้า กิจกรรมวาดภาพเหมือนของดอกกุหลาบ ยังวาดได้ไม่เหมือน จากกิจกรรมนี้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเราต้องไปใช้กับเด็กจริงๆ เราต้องจดบันทึกจากสิ่งที่เราเห็นจากพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาจริงๆ ห้ามไปเติม ห้ามเขียนตามความรู้สึกของตัวเอง ถ้าต่อไปได้มีโอกาสไปใช้จริงๆ หนูก็จะนึกถึงดอกกุหลาบสองสีนี้ค่ะ



ประเมินเพื่อน

            เพื่อนๆทุกคนมีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจจกรรม ทุกคนวาดรูปได้สวยและเหมือนแบบมาก 




ประเมินอาจารย์

           อาจารย์สอนสนุก มีเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย ไม่ได้สอนแค่ในเนื้อหา แต่นำกิจกรรมมาให้ทำ ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าอาจารย์ให้วาดภาพเหมือนทำไม เพราะเรียนวิชาศิลปะครูห้ามให้เด็กวาดภาพตามแบบ เพราะเด็กจะไม่ได้ใช้จินตนาการเป็นการปิดกั้นความคิดของเด็ก แต่พอทำกิจกรรมเสร็จก็เข้าใจว่าทำไมอาจารย์ถึงให้วาดภาพให้เหมือนแบบมากที่สุด กิจกรรมนี้ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น




วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่2




บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 21  เดือน มกราคม  พ.ศ. 2558

  

ความรู้ที่ได้รับ  

กิจกรรมก่อนเรียน  
   
           ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย ที่สามารถช่วยในการสอนกิจวัตรประจำวันของเด็กได้

                                                                                                   ผู้แต่ง อ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
                                                                                                    เรียบเรียง อ. ตฤณ แจ่มถิน
                                             


                                                                       
                                                                         
     เพลงอาบน้ำ

                                                             อาบน้ำซู่ซ่า     ล้างหน้าล้างตา

                                                    ฟอกสบู่ถูตัว              ชำระเหงื่อไคล

                                                    ราดน้ำให้ทั่ว              เสร็จแล้วเช็ดตัว

                                                    อย่าให้ขุ่นมัว             สุขกายสบายใจ



เพลง แปรงสีฟัน

                                                 ตื่นเช้าเราแรงฟัน            กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน

                                        ก่อนนอนเราแปรงฟัน               ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม

                                        แปรงฟันที่ถูกวิธี                       ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

                                         แปรงฟันที่ถูกวิธี                      ดูซิต้องแปรงขึ้นลง


เพลง พี่น้องกัน

                                                          บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย

                                               พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตายาย

                                              มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย

                                              ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน


เพลง มาโรงเรียน

                                                        เรามาโรงเรียน   เราเขียนเราอ่าน

                                               ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ

                                               เราเขียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ

                                               ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน


           
 เพลงสามารถนำไปใช้กับเด็กพิเศษจริงๆและใช้ได้ผลด้วย เช่น เพลงอาบน้ำ เมื่อเด็กพิเศษทุกคนโดยเฉพาะเด็กดาวน์ซินโดรมเมื่อได้ยินเพลงอาบน้ำ ก็จะถอดเสื้อผ้าพร้อมที่อาบน้ำทันที 

             การร้องเพลงเป็นเคล็ดลับหนึ่งในการสอนเด็กเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เพลงแปรงฟัน  มีเด็กออทิศติกไม่ยอมแปรงฟัน เพราะจะกลับแปรงสีฟันมาก แล้วเมื่อเห็นเพื่อนร้องเพลงพร้อมๆกับแปรงสันตามจังหวะเพลง ต่อมาพอเดือนกว่าๆเด็กออทิสติกก็ยอมจับแปรงสีฟัน พอหลังจากนั้น 1อาทิตย์ เขาก็ยอมแปรงฟัน





เนื้อหาเรียนที่ได้รับในวันนี้ :

รูปแบบการจัดการศึกษา

             การศึกษาปกติทั่วไป (Regular ) เป็นการศึกษารูปแบบเดียวในสมัยก่อน ประมาณ 20-30ปีที่แล้ว เพื่อให้เด็กทั่วไปเรียน ส่วนเด็กพิเศษจะอยู่แบบซุกซ่อน พ่อแม่ให้ซ่อยอยู่แต่ในบ้านไม่ให้ออกไปไหน เพราะอับอาย  พอสังคมเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษจึงเกิดการศึกษาพิเศษขึ้นมา

            การศึกษาพิเศษ (Special Education) ได้นำแนวคิดมาจากต่างประเทศ เมื่อ 20กว่าปี เพื่อให้เฉพาะเด็กพิเศษได้เรียนเท่านั้น 

            จะเห็นได้ว่าสมัยก่อนการศึกษาจะมีการแยกกันชัดเจน ต่างคนต่างเรียน ทำให้เด็กอยู่แต่สังคมของตัวเอง ทำให้เด็กใช้ชีวิตในสังคมไม่ค่อยดี ทำให้เกิดการศึกษาแบบเรียนร่วม

การศึกษาแบบเรียนร่วมกับการศึกษาแบบเรียนรวมจะมีความคล้ายๆกัน 

            การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education)  ศูนย์EI เป็นผู้ควบคุมดูแลจะประสานงานกับทางโรงเรียน แล้วจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป หลักสูตรไม่เปลี่ยน แต่มีการเขียนแผน IEP การดูแลเด็กจะมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป โดยมีกิจกรรมให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน ในช่วงเวลาใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน การเรียนร่วมมี 2รูปแบบ 
  
                       1- การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)  เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติในบางเวลา เพราะเป็นเด็กพิเศษที่มีอาการระดับปานกลางถึงระดับมาก สามารถทำได้ในบางกิจกรรมเท่านั้น กิจกรรมที่ใช้กับเด็กพิเศษมากที่สุดคือ กิจกรรมดนตรี การเคลื่อนไหว เพราะดนตรีสามารถช่วยบำบัดอาการของเด็กพิเศษได้ดี และรองลงมา คือ กิจกรรมศิลปะ 

                       2- การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) จัดให้เด็กที่มีอาการระดับน้อยเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน ต้องให้เด็กพิเศษและเด็กปกติได้มีกิจกรรมร่วมกันและได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน 

          การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)  เป็นความรับผิดชอบหลักของทางโรงเรียนจัดการศึกษาสำหรับทุกคนรับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา เด็กพิเศษจะมีสถานะเหมือนกับเด็กปกติทุกอย่าง โรงเรียนไม่สามารถเลือกเด็กได้ แต่เด็กและผู้ปกครองสามารถเลือกโรงเรียนได้ เช่น โรงเรียนสามเสน โรงเรียนเกษมพิทยา 

Wilson,2007  

           การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน คือสอนให้เด็กพิเศษได้ช่วยเหลือตนเองและใช้ชีวิตในสังคมได้ สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนในห้องได้ และเพื่อนก็สามารถปรับตัวและช่วยเหลือเด็กพิเศษได้
    
            กิจกรรมทุกชนิดที่นำไปสู่การสอนที่ดี ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ กิจกรรมต้องไม่ยากจนเด็กพิเศษทำไม่ได้และไม่ง่ายจนเด็กปกติไม่อยากทำ

ความหมายที่ใช้โดยทั่วโลก จึงเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ทุกคนทุกประเทศได้เข้าใจตรงกัน

            "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education services needed by each individual"

              "การศึกษษแบบเรียนรวมรวมถึงทุกคนต้องเรียนตั้งแต่ขั้นต้นตั้งแต่วัยอนุบาล เด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน ครูจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้เหมาะกับเด็กแต่ละบุคคล"

สรุปความหมายของการศึกษษแบบเรียนรวม

             เป็นการจัดการศึกษาที่จัดขึ้นให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาส เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า "การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)" เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก 

             ทุกคนยอมรับว่ามีผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก โดยเฉพาะเด็กดาวน์ซินโดรมจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเห็นได้ชัด ครูจำเป็นต้องบอกเด็กคนอื่นๆก่อนเพื่อให้เด็กปกติเข้าใจ เพราะถ้าเด็กสงาสัยเด็กก็จะกลับไปถามผู้ปกครอง แล้วกลับมาเล่าให้เพื่อนให้ฟัง จึงทำให้เกิดการล้อเลียนได้ ทำให้เด็กรู้สึกและไม่อยากที่จะมาเรียนได้

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

            ปฐมวัยเป็นวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ เพราะ เด็กอายุ 0-7 ขวบ เด็กจะเรียนรู้ได้ดี ซึมซับได้ดี และเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้



การนำความรู้ไปใช้

            นำเทคนิคการร้องเพลงต่างๆไปสอนเด็กในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน เช่น บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องไปบอกเด็กว่า "เด็กค่ะไปอาบน้ำค่ะ" แต่เราสามารถร้องเพลงได้ เมื่อเด็กได้ยินเพลงเด็กก็เข้าใจทันที ดังกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างเด็กดาวน์ซินโดรม




ประเมินตนเอง

             พยายามตั้งใจและจดสิ่งที่อาจารย์อธิบาย หลังจากได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนกลับพบว่ายังทำไม่ค่อยได้ คาบหน้าควรที่จะปรับปรุงและต้องศึกษาเนื้อหาก่อนเข้าเรียน เพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้น




ประเมินเพื่อน

             วันนี้เรียนรวมกับเพื่อนกลุ่มอื่น รู้สึกอบอุ่มมาก ปกติจะเดินสวนกันก็ไม่เคยได้มีโอกาสได้เรียนด้วยกัน แต่วันนี้ได้มีโอกาสคุยกัน ปรึกษากัน เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนและพยายามให้ความร่วมมือในการร้องเพลงและตอบคำถาม




ประเมินอาจารย์

              อาจารย์สอนสนุกเหมือนเดิม มีเทคนิควิธีการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายไม่เครียด บรรยากาศในห้องสนุกไม่กดดันสนุกไปกับการเรียน ชอบวิธีการทำแบบประเมินหลังเรียนมาก เพื่อจะได้เช็คว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหามากน้อยเพียงใดและต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหน