บันทึกอนุทิน ครั้งที่6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธ ที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมก่อนเรียน ชื่อกิจกรรม "รถไฟแห่งชีวิต" ให้นักศึกษาตอบคถามตามความรู้สึกของตัวเอง
การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ
สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อเเม่ จำเป็นต้องส่งเสริมที่ตัวเด็ก
กิจกรรมการเล่น
เป็นการส่งเสริมในตัวเด็กมาก ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรววจ สัมผัส ผลัก ดึง เช่น เด็กดาวน์ซินโดรม,เด็กออทิสติก มองเห็นเพื่อนเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เขาสามารถเรียนรู้ได้ อย่ามองว่าเขามารยาทไม่ดี แต่สิ่งที่เขาเห็นเป็นสิ่งกีดขวาง
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายคนไม่รูวิธีเล่น ไม่รู้ว่าเล่นอย่างไร ครูต้องเอาเพื่อนเข้าไปเล่นด้วย ถ้าเขาเห็นเพื่อนเล่น เขาก็จะมีการเลียนแบบพฤติกรรมการเล่นของเพื่อนข้างๆ ห้ามให้เด็กเล่นคนเดียว ถ้าเด็กคนอื่นไม่มีครูต้องเข้าไปเล่นสาธิตให้เด็กเล่นเลย แต่อย่าเล่นกับเด็กเกินจนลืมจดบันทึกพฤติกรรมอย่างเป็นระบบด้วย เพราะจะบอกได้ว่าเด็กจะมีทักษะอย่างไร บันทึกเพื่อทำแผนระยะยาว(IEP)
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง มีมุมเยอะ เพื่อเป็นฉ้อยให้เด็กเลือกเล่น ต้องมีสักอย่างที่เด็กพิเศษชอบ เพราะเด็กพิเศษจะเลือกเล่นเฉพาะสิ่งที่เขาชอบและสนใจจริงๆ
การจัดกิจกรรมอย่านึกถึงเด็กพิเศษเพียงอย่างเดียว ห้ามลืมว่ามีปกติรวมในห้องด้วย ครูต้องดูด้วยว่ากิจกรรมที่จัดง่ายไปไหมหรือยากจนเกินไป
- เทื่อทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กปกติ 3คนและเด็กกพิเศษ 1คน ต้องมีเด็กเก่งที่สามารถดูแลและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กพิเศษได้ โดยที่ครูไม่ต้องเข้าไปยุ่งเลย
- เวลาเด็กทำผลงาน ครูต้องให้แรงเสริม ด้วยการพยักหน้า หรืออยู่ข้างๆ เช่น เวลาเด็กทำผลงานศิลปะ คือให้เด็กทำงานเสร็จก่อน ห้ามคุยระหว่างที่เด็กทำ เพราะจะเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเด็กระหว่างที่เขาทำ ครูดูเงียบๆยิ้มให้ แตะหัว ดูผลงานระหว่างที่เขาทำ พอเขาวาดรูปเสร็จแล้ว ครูเข้าไปคุยแล้วเขาจะสามารถเล่าเกี่ยวภาพ/ผลงานของตัวเองได้
การปฏิบัติตนของครูขณะที่เด็กเล่น
ครูอยู่ใกล้และเฝ้ามองอย่างสนใจ ถ้าเด็กหันมาก็ควรยิ้มและพยักหน้าให้ ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น เพราะเด็กบางคนจะทำงานเสร็จไวจนเกินไป และเพื่อให้เด็กได้ใช้ปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
ไม่ควรให้ของหรือสื่อเท่ากับจำนวนของเด็ก ต้องให้น้อยกว่าเสมอแต่ไม่ควรน้อยจนเกินไป เพื่อให้เด็กได้หมุนเวียนกันเล่น ถ้าแจกให้คนละชิ้นเด็กก็จะต่างคนต่างเล่น เด็กก็จะไม่รู้จักกฏระเบียบการแบ่งปัน
ก่อนที่จะนำเด็กเข้าไปเล่น ครูต้องดูกิจกรรมและบริบทก่อน แล้วพูดชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนโดยการพูดนำของครู
Ex. มีเด็กคนหนึ่งมองดูเพื่อนกำลังเล่นดนตรีแต่ไม่กล้าเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย ครูต้องสังเกตว่าในบริบทขณะนั้นขาดอะไร เช่น ขาดมือกลอง ครูต้องพาเด็กเข้าไปแล้วบอกกับเด็กคนอื่นๆว่า ครูเอามือกลองมาให้เล่น เมื่อเด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อนแล้ว ครูก็ควรอยู่ใกล้ๆหรือไม่ก็เข้าไปเล่นกับเด็กด้วย ครูต้องให้แรงเสริมกับเด็กคนอื่นๆด้วยทั้งสองฝ่าย
การที่จะให้เด็กทุกคนให้รู้จักกฏเกณฑ์มันไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ ครูต้องให้โอกาสแก่เด็กพิเศษเรียนรู้เหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่อง ห้ามเอาจุดด้อยของเด็กมาเป็นเครื่องต่อรอง
การรอคอยสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษทุกประเภท ขณะที่เด็กกำลังเล่นครูต้องสังเกตและเดินไปรอบกลุ่มด้วย เมื่อพบว่าเด็กเล่นคนเดียว ครูก็ต้องรู้จักพูดในบริบทนั้นให้เป็น ต้องมีไหวพริบที่ดี รู้จักโน้มน้าวให้เป็น เช่น เมื่อเด็กเล่นช้อนตักทรายคนเดียวโดยไม่แบ่งเพื่อน ครูต้องบอกกับเด็กว่าอีก3ครั้งน่ะ เด็กก็จะคิดว่าเป็นเกม ครูต้องดูให้ทั่วและดูบริบทปัจจุบันแล้วพูดชักชวนในกิจกรรมกลุ่ม
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ไม่คุยเสียงดังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมมาก
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนดีมาก สอนสนุกมีเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย มีกิจกรรมก่อนเรียนให้มาเล่นก่อนเสมอทำให้นักศึกษาสนุกและกระตือรื้อร้นในการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น