วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่9




บันทึกอนุทิน ครั้งที่9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 11 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558





ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะภาษาของเด็กพิเศษ


 การวัดความสามารถทางภาษา

                เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม เด็กต้องเข้าใจคำพูดที่ครูพูดด้วย

                 ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม ดูปฏิกริยาโต้ตอบว่าเด็กฟังรู้เรื่องไหม?

                 ถามหาสิ่งต่างๆไหม เด็กออทิสติกจะไม่ถามหาสิ่งต่างๆ

                 บอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นได้ไหม  เช่น ให้เด็กบอก     ว่าวันนี้ออกจากบ้านเจออะไรไหม?

                 ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม เช่น เค้า ตัวเอง เธอ เด็กจะมีคำศัพท์เฉพาะตัวที่แปลกๆ
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด

               การพูดตกหล่น เช่น หนังสือ เป็น สือ

               การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง  เช่น ไม้กวาด เป็น ไม้ฝาด  ง่วง เป็น ม่วง  (งอ ออกเสียงจากสำหรับเด็ก)

               ติดอ่าง เด็กเล็กส่วนมากจะพบอาการนี้

  การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

              เด็กที่พูดไม่ชัดอาจะเกี่ยวข้องกับการได้ยิน เพราะเขาอาจจะไม่ได้ยิน เลยพูดไม่ชัด
  
             ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด ครูอย่าพึ่งเพ่งเล็งที่ตัวเด็ก เด็กสมาธิสั้นชอบพูดเร็วๆรัวๆ  ห้ามบอกเด็กว่า "พูดช้าๆหน่อย " และห้ามขัดจังหวะในขณะที่เด็กกำลังพูดเด็ดขาด

             อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่เด็กถนัดของเด็ก เช่น การจับปากกา

            ในห้องเรียนรวมไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น 

ทักษะพื้นฐานทางภาษา

             สำหรับเด็กพิเศษแค่มีทักษะการรับรู้ภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน) และการแสดงออกทางภาษาก็เพียงพอแล้ว ส่วนการสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า ร่างกาย

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

           กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)

           การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา

           ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด

           ให้เวลาเด็กได้พูด

           คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)

           เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับ (ครูไม่พูดมากเกินไป)

           เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

           ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษไดีมีแบบอย่างจากเพื่อน

           เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด

          ใช้คำถามปลายเปิด

          เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น

          ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)   (ใช้ได้ดีมากกับเด็กพิเศษ)

 Ex. เมื่อครูเห็นเด็กพยายามใส่ผ้ากันเปื้อนแต่ใส่ไม่ได้  สิ่งแรกที่ครูควรทำก่อน มี2กรณี 

            กรณีแรก เข้าไปถามเด็กก่อนว่าทำอะไร ถ้าเด็กตอบครูก็ใส่ให้เด็กเลย (ถามแล้วเด็กส่วนน้อยที่จะตอบคำถาม) 

           กรณีที่2 เมื่อเข้าไปถามแล้วเด็กไม่ตอบ ครูควรถามซ้ำ "หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหม" ถ้าเด็กยังไม่ตอบตอบอีก ครูก็ต้องถามซ้ำอีก ถ้าเด็กบอกความต้องการของตัวเองโดยการยิิ้มหรือพยักหน้า ครูก็ช่วยเด็กใส่




ประเมินตนเอง

             สนุกกับการเรียนและการทำกิจกรรมในคาบนี้มาก แต่ยังขาดการเตรียมตัวล่วงหน้า และต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาที่อาจารย์อธิบายอีกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นและนำไปใช้ได้ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน

             เพื่อนๆตั้งใจเรียนแต่ก็ยังมีบางคนชอบคุยไม่ค่อยตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์อธิบาย ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนทุกครั้ง มีเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย บรรยากาศในห้องสนุกสนานไม่เบื่อไม่ง่วงนอนและที่สำคัญอาจารย์มีการยกตัวอย่างหรือประสบการณ์ที่เคยเจอ ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น อาจารย์เข้าใจนักศึกษา รู้ว่าบรรยากาศในการเรียนแบบไหนที่นักศึกษาชอบ
             


ครั้งที่8



                                                            บันทึกอนุทิน ครั้งที่8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 4  เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากวันมาฆบูชา






ครั้งที่7



บันทึกอนุทิน ครั้งที่7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 22  เดือน กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์การสอบกลางภาค





ครั้งที่ 6



บันทึกอนุทิน ครั้งที่6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 18 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมก่อนเรียน  ชื่อกิจกรรม "รถไฟแห่งชีวิต"  ให้นักศึกษาตอบคถามตามความรู้สึกของตัวเอง


























การส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ


              สภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อเเม่ จำเป็นต้องส่งเสริมที่ตัวเด็ก

กิจกรรมการเล่น

            เป็นการส่งเสริมในตัวเด็กมาก ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรววจ สัมผัส ผลัก ดึง เช่น เด็กดาวน์ซินโดรม,เด็กออทิสติก มองเห็นเพื่อนเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เขาสามารถเรียนรู้ได้ อย่ามองว่าเขามารยาทไม่ดี แต่สิ่งที่เขาเห็นเป็นสิ่งกีดขวาง

ยุทธศาสตร์การสอน 

        เด็กพิเศษหลายคนไม่รูวิธีเล่น ไม่รู้ว่าเล่นอย่างไร ครูต้องเอาเพื่อนเข้าไปเล่นด้วย ถ้าเขาเห็นเพื่อนเล่น เขาก็จะมีการเลียนแบบพฤติกรรมการเล่นของเพื่อนข้างๆ ห้ามให้เด็กเล่นคนเดียว ถ้าเด็กคนอื่นไม่มีครูต้องเข้าไปเล่นสาธิตให้เด็กเล่นเลย แต่อย่าเล่นกับเด็กเกินจนลืมจดบันทึกพฤติกรรมอย่างเป็นระบบด้วย เพราะจะบอกได้ว่าเด็กจะมีทักษะอย่างไร บันทึกเพื่อทำแผนระยะยาว(IEP)

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

        วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง มีมุมเยอะ เพื่อเป็นฉ้อยให้เด็กเลือกเล่น ต้องมีสักอย่างที่เด็กพิเศษชอบ เพราะเด็กพิเศษจะเลือกเล่นเฉพาะสิ่งที่เขาชอบและสนใจจริงๆ 
          
        การจัดกิจกรรมอย่านึกถึงเด็กพิเศษเพียงอย่างเดียว ห้ามลืมว่ามีปกติรวมในห้องด้วย ครูต้องดูด้วยว่ากิจกรรมที่จัดง่ายไปไหมหรือยากจนเกินไป
     
        - เทื่อทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กปกติ 3คนและเด็กกพิเศษ 1คน ต้องมีเด็กเก่งที่สามารถดูแลและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กพิเศษได้ โดยที่ครูไม่ต้องเข้าไปยุ่งเลย

       - เวลาเด็กทำผลงาน ครูต้องให้แรงเสริม ด้วยการพยักหน้า หรืออยู่ข้างๆ เช่น เวลาเด็กทำผลงานศิลปะ คือให้เด็กทำงานเสร็จก่อน ห้ามคุยระหว่างที่เด็กทำ เพราะจะเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเด็กระหว่างที่เขาทำ ครูดูเงียบๆยิ้มให้ แตะหัว ดูผลงานระหว่างที่เขาทำ พอเขาวาดรูปเสร็จแล้ว ครูเข้าไปคุยแล้วเขาจะสามารถเล่าเกี่ยวภาพ/ผลงานของตัวเองได้

การปฏิบัติตนของครูขณะที่เด็กเล่น

           ครูอยู่ใกล้และเฝ้ามองอย่างสนใจ ถ้าเด็กหันมาก็ควรยิ้มและพยักหน้าให้ ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากจนเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น เพราะเด็กบางคนจะทำงานเสร็จไวจนเกินไป และเพื่อให้เด็กได้ใช้ปฏิสัมพันธ์มากขึ้น 

          ไม่ควรให้ของหรือสื่อเท่ากับจำนวนของเด็ก ต้องให้น้อยกว่าเสมอแต่ไม่ควรน้อยจนเกินไป เพื่อให้เด็กได้หมุนเวียนกันเล่น ถ้าแจกให้คนละชิ้นเด็กก็จะต่างคนต่างเล่น เด็กก็จะไม่รู้จักกฏระเบียบการแบ่งปัน 

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

           ก่อนที่จะนำเด็กเข้าไปเล่น ครูต้องดูกิจกรรมและบริบทก่อน แล้วพูดชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนโดยการพูดนำของครู 

          Ex.  มีเด็กคนหนึ่งมองดูเพื่อนกำลังเล่นดนตรีแต่ไม่กล้าเข้าไปเล่นกับเพื่อนด้วย ครูต้องสังเกตว่าในบริบทขณะนั้นขาดอะไร  เช่น ขาดมือกลอง ครูต้องพาเด็กเข้าไปแล้วบอกกับเด็กคนอื่นๆว่า ครูเอามือกลองมาให้เล่น เมื่อเด็กเข้าไปเล่นกับเพื่อนแล้ว ครูก็ควรอยู่ใกล้ๆหรือไม่ก็เข้าไปเล่นกับเด็กด้วย ครูต้องให้แรงเสริมกับเด็กคนอื่นๆด้วยทั้งสองฝ่าย

ครูสามารถช่วยให้เด็กทุกคนรู้กฏเกณฑ์

            การที่จะให้เด็กทุกคนให้รู้จักกฏเกณฑ์มันไม่ง่ายเลยสำหรับเด็กพิเศษ ครูต้องให้โอกาสแก่เด็กพิเศษเรียนรู้เหมือนเพื่อนในห้อง ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่อง ห้ามเอาจุดด้อยของเด็กมาเป็นเครื่องต่อรอง

            การรอคอยสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษทุกประเภท ขณะที่เด็กกำลังเล่นครูต้องสังเกตและเดินไปรอบกลุ่มด้วย เมื่อพบว่าเด็กเล่นคนเดียว ครูก็ต้องรู้จักพูดในบริบทนั้นให้เป็น ต้องมีไหวพริบที่ดี รู้จักโน้มน้าวให้เป็น เช่น เมื่อเด็กเล่นช้อนตักทรายคนเดียวโดยไม่แบ่งเพื่อน ครูต้องบอกกับเด็กว่าอีก3ครั้งน่ะ เด็กก็จะคิดว่าเป็นเกม  ครูต้องดูให้ทั่วและดูบริบทปัจจุบันแล้วพูดชักชวนในกิจกรรมกลุ่ม



ประเมินตนเอง

          มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ไม่คุยเสียงดังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

           เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมมาก 

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนดีมาก สอนสนุกมีเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย มีกิจกรรมก่อนเรียนให้มาเล่นก่อนเสมอทำให้นักศึกษาสนุกและกระตือรื้อร้นในการเรียน