บันทึกอนุทิน ครั้งที่13
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันพุธ ที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558
ความรู้ที่ได้รับ
เป้าหมาย
ช่วงความสนใจ
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ความจำ
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
ประเมินตนเอง
ประเมินเพื่อน
ประเมินอาจารย์
ไม่ต้องการให้เด็กอ่านออก เขียนเป็น บวกเลขได้ การที่ครูช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ทำให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้" พัฒนาความกระตือรื้อร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจทดลอง ดังนั้นครูต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ
จำเป็นต้องให้เด็กมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ ทำให้จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร เช่น การเล่านิทาน ถ้าเด็กฟังนิทานได้ไม่นาน สิ่งที่ครูต้องทำคือ
1. เลือกนิทานที่เด็กสนใจและอยากฟัง
2. เล่านิทานโดยให้เด็กมีส่วนร่วม
3. นิทานที่เลือกใช้เวลาไม่นานมาก สั้นๆ เมื่อเวลาเด็กฟังจบ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ
4. พอผ่านไป 2-3สัปดาห์ ก็ค่อยๆเล่าเรื่องที่ยาวขึ้น
5. เล่ารอบแรกให้จบก่อน รอบที่ 2 อาจจะถามระหว่างเล่า
6. ถ้าเด็กมีอาการสมาธิสั้น นิทานเรื่องเดียวเด็กฟังไม่จบแน่นอน ครูต้องดึงสติเด็กโดยการเรียกชื่อเด็ก ถ้าน้องสมาธิสั้น ครูควรอ่านให้จบก่อนจากต้นเรื่องจนจบเรื่อง
เด็กเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ Ex. เอ เป็นเด็กปกติ บี เป็นเด็กดาวน์
จุดประสงค์ ครูอยากให้บีเดินไปหยิบสี ครูจึงสั่งให้บีกับเอไปหยิบคนละแท่งพร้อมกัน เพื่อให้บีเกิดการเรียนรู้ เมื่อได้ยินคำสั่งเอรู้เรื่องเลยลุกขึ้นทันที แต่บีไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรบีจึงลุกตาม หยิบตาม เดินมาให้ครูตามเอ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ (เด็กดาวน์ซินโดรมร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ บางครั้งไม่ค่อยรูเรื่อง) เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ และคำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่
Ex. เมื่อครูจะสั่งทั้ง 2คน ควรเรียกน้องดาวน์ก่อน เพราะน้องดาวน์จะตื่นตัวก่อนเด็กปกติ และน้องสัมผัสได้ว่าครูต้องการอะไร
เด็กออทิสติกจะมีความรู้สึกช้า ตอบสนองช้า ครูต้องฝึกให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น และต้องตอบสนองอย่างเหมาะสม
Ex. เด็กปกติได้ยินผ่านทางหูต้องตอบครูได้ แต่เด็กพิเศษวิธีการตอบสนองที่ไม่เหมาะสมกับการใช้ประสาทสัมผัส เช่น ครูเรียกชื่อ แต่ไม่สนใจไม่หันตามเสียง ไม่ตอบสนอง
ตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง
ศิลปะ เช่น ฉีก ตัด ปะ ขยำ ละเลง
ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ เชือก กระดาษที่เป็นวงใหญ่ๆเด็กสามารถร้อยได้ และรูปต่อที่มีจำนวนไม่มาก
ฝึกฝนเด็กกได้โดยการถามเหตุการณ์ที่ผ่านมา เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
1. จัดกลุ่มเด็กแล้วต้องให้เด็กรู้ว่าต้องทำตรงไหน เช่น ศิลปะ ทำฐานเยอะเด็กจะงง มันมีหลายโต๊ะ เด็กปกติจะรู้ว่าโต๊ะนี้ระบายสีน้ำ แต่เด็กดาวน์จะยืนงง ไม่รู้ว่าต้องไปฐานไหนก่อน อยากทำกิจกรรมนี้แต่ไม่รู้ว่าต้องทำตรงไหน ครูต้องกระตุ้นเด็กโดยการใช้คำถาม "น้องจะทำอะไรค่ะ" แล้วก็พาเด็กไป พอน้องถามเสร็จแล้วยืนงง ครูต้องเข้าไปถาม บางทีต้องเกริ่น เช่น แป้งโดว์ไหม ครูอาจจะพูดโน้มน้าวเด็ก
2. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
3. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย เช่น กรรไกร พู่กันที่เด็กใช้เป็นประจำ ขนาดเดิม
4. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
5. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
6. มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
7. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
8. พูดในทางที่ดี ชมเด็กเยอะๆ เด็กต้องการแรงเสริมทางบวก
9. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว จะทำอย่างไรก็ได้ แต่ต้องให้เขาได้มีส่วนร่วมในการแจกของ โดยให้เด็กออกมาหยิบของ แล้วเข้าไปนั่ง เพราะฝึกให้เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ภายในห้อง
10. ทำบทเรียนให้สนุก
คาบนี้มาเรียนสายและใส่รองเท้าแตะมาเรียน เนื่องจากฝนตกหนักแต่เช้า แต่ก็ตั้งใจเรียนมากขึ้น พยายามจดเนื้อหาและตัวอย่างเหตุการณ์ที่อาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมากขึ้น และต้องกลับไปอ่านเนื้อหาที่จดสรุปในคาบ เพื่อจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
คาบนี้ฝนตกแต่เช้า ทำให้เพื่อนบางคนมาสายและแต่งการไม่เรียบร้อยมาเรียน แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
อาจารย์ขยัน มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมตัวก่อนมาสอนเสมอ สอนเข้าใจ และสอนเทคนิคต่างๆ เช่น เทคนิคการสอนเด็กใช้กรรไกรและการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น