บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
ไม่เหมือนการเขียนแผนการสอนปกติ เราไม่ได้เขียนคนเดียว ไม่ใช้เอง เขียนเองแต่ต้องผ่านคณะกรรมการ หลายตรา หลายความคิดเห็น
IEP ต่างจากแผนปกติ คือ ต้องรู้จักเด็กให้ลึกซึ้งก่อน รู้จุดเด่น จุดด้อย ด้านที่เด็กชอบ และด้านที่เด็กไม่ชอบ รู้ภูมิหลังของเด็กว่าใครเป็นคนพาเด็กไปหาหมอ ต้องสังเกตเด็กก่อนอย่างน้อย 1เทอมและห้ามลืมจดบันทึก เพื่อที่เราจะได้เห็นบริบทต่างๆของเด็ก
เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลของเด็ก (ต้องระบุเวลาที่ชัดเจน)
การเขียนแผน IEP
คัดแยกเด็กพิเศษ ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร แล้วประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ต้องระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน ระบุวันเดือนปีที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน วิธีการประเมิน และสิ่งที่สำคัญคือต้องกำหนดเป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น (เป็นหน้าที่ที่ครูจะต้องเขียน และยากที่สุด)
ประโยชน์ต่อเด็ก
เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน และได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์ สอบถามทางโรงพยาบาลว่าเข้า-ออก บ่อยแค่ไหน
- รายงานประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เอาข้อมูลจากที่เราบันทึกทั้งเทอม ถ้าเราไม่รู้จักเด็กจริง เราจะเขียนไม่ได้
2.การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูประจำชั้น พ่อแม่/ผู้ปกครอง แพทย์ ครูสอนเสริม หลักๆมี 3คน คือ ครู พ่อแม่/ผู้ปกครอง และผู้บริหาร
- กำหนดเป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดหมายระยะยาว
ตั้งไม่ยาก เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าเด็กจะได้อะไร ขอบข่ายทุกอย่างที่เด็กสามารถทำได้
ไม่เจาะจงว่าเรืองอะไร กำหนดให้กว้างๆ เช่น น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ต้องตั้งภายใต้จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน หรือ 2-3สัปดาห์ จุดประสงค์จดเป็นพฤติกรรมหลัก โดยเด็กสามารถปรับเปลี่ยนได้ต้องเห็นผลประมาณ 1เดือน
ต้องเห็นผล โดยต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 4ข้อดังนี้ คือ
1. จะสอนอะไร
2. พฤติกรรมอะไร
3. เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
Ex. ใคร อรุณ
อะไร กระโดดขาเดียว
เมื่อไหร่/ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน กระโดดขาละ 5ครั้ง ในเวลา 30วินาที
Ex. ใคร ธรภรณ์
อะไร นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
เมื่อไหร่/ที่ไหน ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15นาที เป็นเวลา 5วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น แล้วนำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยแยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก แล้วจัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
- ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
- ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์การวัดผล
การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
ประเมินตนเอง
แต่งตัวเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาและวิธีการเขียนแผน IEP ต้องกลับไปอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหา เพื่อจะได้เขียนแผน IEP ทำจะต้องส่งอาจารย์ได้อย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทดลองเขียนแผน ช่วยกันคิดแลกเปลี่ยนความคิดกัน
อาจารย์สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างอยู่เสมอ ชอบเทคนิคการสอนของอาจารย์มาก บรรยากาศในห้องอบอุ่น เป็นกันเอง อาจารย์รู้ว่าสิ่งไหนที่นักศึกษาชอบ รู้ว่าสิ่งไหนที่นักศึกษาไม่ชอบ อาจารย์จะนำเกมมาเล่นก่อนการเรียนเสมอ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจของนักศึกษา ทำให้นักศึกษามีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น