วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 1  เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. 2558




               วันนี้เป็นคาบสุดท้ายที่เราได้เจอกันในรายวิชานี้ และเป็นวันสอบร้องเพลง โดยแต่ละคนออกมาหยิบสลากชื่อเพลง ซึ่งหนูได้เพลง ดอกมะลิ


เพลง ดอกมะลิ

ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ



ภาพแห่งความทรงจำ





ประเมินตนเอง

            คาบนี้เป็นคาบที่ประทับใจมาก มีแต่รอยยิ้มและความสุขมาก วันนี้ร้องเพลงเพี้ยนและมีการลืมเนื้อร้องนิดหน่อย แต่ก็พยายามทำเต็มที่

ประเมินเพื่อน

             เพื่อนๆทุกคนร้องเพลงเพราะมาก ทุกคนให้กำลังใจกันเมื่อเวลาออกไปร้องเพลง ทุกคนสนุกสนานมีแต่รอยยิ้มและมีความสุข 

ประเมินอาจารย์

            เป็นคาบสุดท้ายที่เราได้เรียนวิชานี้ และเป็นคาบสุดท้ายที่ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์ ขอบคุณอาจารย์มากเลยน่ะค่ะสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง สำหรับหนูอาจารย์ไม่ได้เป็นแค่ครู แต่อาจารย์เป็นทุกๆอย่าง อาจารย์ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจในเวลาที่พวกหนูท้อ อาจารย์ทำให้พวกหนูยิ้มได้ในวันที่เครียดและเหนื่อย หนูได้อะไรหลายๆอย่างจากการเรียนในวิชานี้ หนูจะตั้งใจให้มากกว่านี้ค่ะ 


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15




บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 15  เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับ


โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program)

แผน IEP

            ไม่เหมือนการเขียนแผนการสอนปกติ เราไม่ได้เขียนคนเดียว ไม่ใช้เอง เขียนเองแต่ต้องผ่านคณะกรรมการ หลายตรา หลายความคิดเห็น

              IEP ต่างจากแผนปกติ คือ ต้องรู้จักเด็กให้ลึกซึ้งก่อน รู้จุดเด่น จุดด้อย ด้านที่เด็กชอบ และด้านที่เด็กไม่ชอบ รู้ภูมิหลังของเด็กว่าใครเป็นคนพาเด็กไปหาหมอ ต้องสังเกตเด็กก่อนอย่างน้อย 1เทอมและห้ามลืมจดบันทึก เพื่อที่เราจะได้เห็นบริบทต่างๆของเด็ก

             เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผน และวิธีการวัดประเมินผลของเด็ก (ต้องระบุเวลาที่ชัดเจน)




การเขียนแผน IEP

              คัดแยกเด็กพิเศษ ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร แล้วประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้ เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP




IEP ประกอบด้วย

               ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ต้องระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน ระบุวันเดือนปีที่เริ่มทำการสอนและคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน วิธีการประเมิน และสิ่งที่สำคัญคือต้องกำหนดเป้าหมายระยะยาวประจำปี/ระยะสั้น (เป็นหน้าที่ที่ครูจะต้องเขียน และยากที่สุด)




ประโยชน์ต่อเด็ก

                เด็กได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน และได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ




ประโยชน์ต่อครู
  •  เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
  •  เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  •  ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  •  เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  •  ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน


ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
  • รายงานทางการแพทย์ สอบถามทางโรงพยาบาลว่าเข้า-ออก บ่อยแค่ไหน
  • รายงานประเมินด้านต่างๆ
  • บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง  เอาข้อมูลจากที่เราบันทึกทั้งเทอม ถ้าเราไม่รู้จักเด็กจริง เราจะเขียนไม่ได้
2.การจัดทำแผน
  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูประจำชั้น พ่อแม่/ผู้ปกครอง แพทย์ ครูสอนเสริม  หลักๆมี 3คน คือ ครู พ่อแม่/ผู้ปกครอง และผู้บริหาร
  • กำหนดเป้าหมายระยะยาว/ระยะสั้น
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดหมาย
  • ระยะยาว
  • ระยะสั้น
จุดหมายระยะยาว

           ตั้งไม่ยาก เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าเด็กจะได้อะไร ขอบข่ายทุกอย่างที่เด็กสามารถทำได้  
ไม่เจาะจงว่าเรืองอะไร กำหนดให้กว้างๆ เช่น น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้  น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

            ต้องตั้งภายใต้จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน หรือ 2-3สัปดาห์ จุดประสงค์จดเป็นพฤติกรรมหลัก โดยเด็กสามารถปรับเปลี่ยนได้ต้องเห็นผลประมาณ 1เดือน 
ต้องเห็นผล โดยต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 4ข้อดังนี้ คือ
                    1. จะสอนอะไร
                    2. พฤติกรรมอะไร
                    3. เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
                    4. พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

Ex.      ใคร                           อรุณ
            อะไร                        กระโดดขาเดียว
            เมื่อไหร่/ที่ไหน        กิจกรรมกลางแจ้ง
            ดีขนาดไหน             กระโดดขาละ 5ครั้ง ในเวลา 30วินาที 
     
 Ex.     ใคร                           ธรภรณ์
            อะไร                        นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
            เมื่อไหร่/ที่ไหน         ระหว่างครูเล่านิทาน
            ดีขนาดไหน              ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15นาที เป็นเวลา 5วันติดต่อกัน

 3. การใช้แผน

          เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น แล้วนำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยแยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก แล้วจัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์การวัดผล
การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน


ประเมินตนเอง

          แต่งตัวเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาและวิธีการเขียนแผน IEP ต้องกลับไปอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหา เพื่อจะได้เขียนแผน IEP ทำจะต้องส่งอาจารย์ได้อย่างถูกต้อง



ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทดลองเขียนแผน ช่วยกันคิดแลกเปลี่ยนความคิดกัน 



ประเมินอาจารย์

          อาจารย์สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างอยู่เสมอ ชอบเทคนิคการสอนของอาจารย์มาก บรรยากาศในห้องอบอุ่น เป็นกันเอง อาจารย์รู้ว่าสิ่งไหนที่นักศึกษาชอบ รู้ว่าสิ่งไหนที่นักศึกษาไม่ชอบ อาจารย์จะนำเกมมาเล่นก่อนการเรียนเสมอ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจของนักศึกษา ทำให้นักศึกษามีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น








วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่14



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 15  เดือน เมษายน  พ.ศ. 2558




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์


ครั้งที่13




บันทึกอนุทิน ครั้งที่13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 8  เดือน เมษายน พ.ศ. 2558



ความรู้ที่ได้รับ
  
         
ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป็นทักษะสุดท้าย จำเป็นต้องจำทั้ง 4ทักษะเพื่อที่จะนำไปเขียนแผน IEP


เป้าหมาย

              ไม่ต้องการให้เด็กอ่านออก เขียนเป็น บวกเลขได้ การที่ครูช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ทำให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้" พัฒนาความกระตือรื้อร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจทดลอง ดังนั้นครูต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ



ช่วงความสนใจ

               จำเป็นต้องให้เด็กมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ ทำให้จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร เช่น การเล่านิทาน ถ้าเด็กฟังนิทานได้ไม่นาน สิ่งที่ครูต้องทำคือ

               1. เลือกนิทานที่เด็กสนใจและอยากฟัง

               2. เล่านิทานโดยให้เด็กมีส่วนร่วม

               3. นิทานที่เลือกใช้เวลาไม่นานมาก สั้นๆ เมื่อเวลาเด็กฟังจบ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ

               4. พอผ่านไป 2-3สัปดาห์ ก็ค่อยๆเล่าเรื่องที่ยาวขึ้น

               5. เล่ารอบแรกให้จบก่อน รอบที่ 2 อาจจะถามระหว่างเล่า

                6. ถ้าเด็กมีอาการสมาธิสั้น นิทานเรื่องเดียวเด็กฟังไม่จบแน่นอน ครูต้องดึงสติเด็กโดยการเรียกชื่อเด็ก ถ้าน้องสมาธิสั้น ครูควรอ่านให้จบก่อนจากต้นเรื่องจนจบเรื่อง



การเลียนแบบ

                เด็กเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบ   Ex. เอ เป็นเด็กปกติ  บี เป็นเด็กดาวน์
จุดประสงค์ ครูอยากให้บีเดินไปหยิบสี ครูจึงสั่งให้บีกับเอไปหยิบคนละแท่งพร้อมกัน เพื่อให้บีเกิดการเรียนรู้ เมื่อได้ยินคำสั่งเอรู้เรื่องเลยลุกขึ้นทันที แต่บีไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรบีจึงลุกตาม หยิบตาม เดินมาให้ครูตามเอ



การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ

              เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่  (เด็กดาวน์ซินโดรมร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ บางครั้งไม่ค่อยรูเรื่อง) เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่ และคำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่
      
              Ex. เมื่อครูจะสั่งทั้ง 2คน ควรเรียกน้องดาวน์ก่อน เพราะน้องดาวน์จะตื่นตัวก่อนเด็กปกติ และน้องสัมผัสได้ว่าครูต้องการอะไร



การรับรู้ การเคลื่อนไหว

             เด็กออทิสติกจะมีความรู้สึกช้า ตอบสนองช้า ครูต้องฝึกให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น และต้องตอบสนองอย่างเหมาะสม

             Ex. เด็กปกติได้ยินผ่านทางหูต้องตอบครูได้  แต่เด็กพิเศษวิธีการตอบสนองที่ไม่เหมาะสมกับการใช้ประสาทสัมผัส เช่น ครูเรียกชื่อ แต่ไม่สนใจไม่หันตามเสียง ไม่ตอบสนอง



การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก

            ตัวอย่างกิจกรรม  ได้แก่  การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง 
ศิลปะ เช่น ฉีก ตัด ปะ ขยำ ละเลง



ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ

             ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ เชือก กระดาษที่เป็นวงใหญ่ๆเด็กสามารถร้อยได้ และรูปต่อที่มีจำนวนไม่มาก



ความจำ

              ฝึกฝนเด็กกได้โดยการถามเหตุการณ์ที่ผ่านมา เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

              1. จัดกลุ่มเด็กแล้วต้องให้เด็กรู้ว่าต้องทำตรงไหน เช่น ศิลปะ ทำฐานเยอะเด็กจะงง มันมีหลายโต๊ะ เด็กปกติจะรู้ว่าโต๊ะนี้ระบายสีน้ำ แต่เด็กดาวน์จะยืนงง ไม่รู้ว่าต้องไปฐานไหนก่อน อยากทำกิจกรรมนี้แต่ไม่รู้ว่าต้องทำตรงไหน ครูต้องกระตุ้นเด็กโดยการใช้คำถาม "น้องจะทำอะไรค่ะ" แล้วก็พาเด็กไป พอน้องถามเสร็จแล้วยืนงง ครูต้องเข้าไปถาม บางทีต้องเกริ่น เช่น แป้งโดว์ไหม ครูอาจจะพูดโน้มน้าวเด็ก 
                 
               2. ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง

              3. ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย เช่น กรรไกร พู่กันที่เด็กใช้เป็นประจำ ขนาดเดิม

              4. บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

              5. รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน

              6.  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ

              7. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง

              8. พูดในทางที่ดี ชมเด็กเยอะๆ เด็กต้องการแรงเสริมทางบวก

              9. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว จะทำอย่างไรก็ได้ แต่ต้องให้เขาได้มีส่วนร่วมในการแจกของ โดยให้เด็กออกมาหยิบของ แล้วเข้าไปนั่ง เพราะฝึกให้เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ภายในห้อง

              10. ทำบทเรียนให้สนุก



ประเมินตนเอง

              คาบนี้มาเรียนสายและใส่รองเท้าแตะมาเรียน เนื่องจากฝนตกหนักแต่เช้า แต่ก็ตั้งใจเรียนมากขึ้น พยายามจดเนื้อหาและตัวอย่างเหตุการณ์ที่อาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมากขึ้น และต้องกลับไปอ่านเนื้อหาที่จดสรุปในคาบ เพื่อจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น 



ประเมินเพื่อน

              คาบนี้ฝนตกแต่เช้า ทำให้เพื่อนบางคนมาสายและแต่งการไม่เรียบร้อยมาเรียน แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 



ประเมินอาจารย์

              อาจารย์ขยัน มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมตัวก่อนมาสอนเสมอ สอนเข้าใจ และสอนเทคนิคต่างๆ เช่น เทคนิคการสอนเด็กใช้กรรไกรและการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น
                 

                 










ครั้งที่12



บันทึกอนุทิน ครั้งที่12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558



ความรู้ที่ได้รับ

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมกีฬาสี คณะศึกษาศาสตร์สัมพันธ์ 
ณ. โรงยิมพลศึกษา



รวมภาพกิจกรรม


ครั้งที่11



บันทึกอนุทิน ครั้งที่4

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 25เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้มีการสอบเก็บคะแนนภายในห้อง 







ครั้งที่ 10



บันทึกอนุทิน ครั้งที่10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธ ที่ 18 เดือน มีนาคม  พ.ศ. 2558



ความรู้ที่ได้รับ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

           ให้เด็กได้เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว และกิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน



การสร้างความอิสระ

           เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง อยากทำงานตามความสามารถ และเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่



ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ

          การที่เด็กได้ทำด้วยตนเอง ทำให้เชื่อมั่นในตนเอง และเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี



หัดให้เด็กทำเอง

           ต้องหัดให้เด็กทำเอง ไม่ควรช่วยเหลือเกินความจำเป็น  ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"



จะช่วยเมื่อไหร่
      
             เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร เบื่อ หงุดหงิด  ไม่ค่อยสบาย หลายๆครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว เด็กจะรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่ง
ที่เด็ก มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

               แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ โดยเรียงลำดับตามขั้นตอน
เช่น การเข้าส้วม
  1. เข้าไปในห้องส้วม                                
  2. ดึงกางเกงลงมา
  3. ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  4. ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  5. ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
  6. ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  7. กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  8. ดึงกางเกงขึ้น
  9. ล้างมือ
  10. เช็ดมือ
  11. เดินออกจากห้องส้วม



การวางแผนทีละขั้น

             แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



สรุป   ครูต้องพยายามให้เด็กๆทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยการย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ ความสำเร็จขั้นเล็กๆของเด็กจะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง เด็กสามารึพึ่งตนเองได้ และรู้สึกเป็นอิสระ




ประเมินตนเอง

          คาบนี้เป็นคาบที่แย่ที่สุด เนื่องจากวันนนี้เช้าอาจารย์ติดประชุมเลยเลื่อนคลาสมาเรียนคาบบ่ายพร้อมกับเพื่อนภาคสมทบ คาบเช้าพวกหนูว่างก็เลยไปซ้อมกิจกรรมรอบกองไฟที่จะใช้สอบในวิชาลูกเสือในวันพรุ่งนี้ ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและอากาศก็ร้อนด้วย ทำให้หลับทั้งคาบ ไม่ได้จดเนื้อที่อาจารย์อธิบายเลย ไม่เข้าใจเนื้อหา ไม่รู้ว่าอาจารย์สอนอะไรบ้าง เพราะว่าหลับทั้งคาบ หนูกลับมาอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหา แต่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่อง วันนี้รู้สึกเรียนไม่คุ้มกับการมาเรียนเลย คาบหน้าหนูต้องตั้งใจเรียนมากกว่านี้



ประเมินเพื่อน

          วันนี้เรียนมีเพื่อนภาคสมทบมาเรียนด้วย ทำให้บรรยากาศในห้องน่าเรียนมากขึ้น เมื่อ2เซคมารวมกัน ทำให้กลายเป็นสีสันของห้อง เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม แต่ก็มีเพื่อนบางส่วนที่ยังคุยกันขณะที่อาจารย์อธิบาย



ประเมินอาจารย์

           วันนี้อาจารย์ติดประชุมในตอนเช้าเลยเลื่อนมาเรียนคาบบ่ายแทน มีการเตรียมตัวก่อนการสอนทุกครั้ง และมีการเตรียมสื่อได้ครบกับจำนวนของนักศึกษาและมีความเหมาะสมกับกิจกรรม อาจารย์มีเทคนิคที่หลากหลาย วันนี้ที่หนูง่วงไม่ใช่เพราะอาจารย์สอนไม่สนุกน่ะค่ะ แต่วันนี้หนูเหนื่อยมากและอากาศก็ร้อนมากด้วยทำให้ง่วงนอนไม่มีสมาธิในการเรียนค่ะ